องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส

Namsai Subdistrict Administrative Organization

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 4

หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ

ยุทธศาสตร์
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส

 
คำนำ
 
          แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕)  เป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี  กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้การวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยนำโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาท้องถิ่นในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปจัดทำงบประมาณ  เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบ และผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
                   การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)    ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  ได้ยึดปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๑ ข้อ ๑๗  และข้อ ๑๘ และครอบคลุมอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
                    องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)     จะแสดงกรอบในการพัฒนาท้องถิ่นและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ส่งผลให้การพัฒนาตำบลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป และขอขอบพระคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยให้การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)    สำเร็จลุล่วงด้วยดี
                                     
 
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
 
 
 สารบัญ
                                               
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด
 
**********************
                                                                                        
เรื่อง หน้า
ส่วนที่ ๑  สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
   
ส่วนที่ ๒  ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
  1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
  1. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑๕
  1. การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
๒๑
   
ส่วนที่ ๓  การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ  
  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน
๒๕
  1. บัญชีโครงการพัฒนาท้องถิ่น
๒๖
   
ส่วนที่ ๔ การติดตามและประเมินผล  
  1. การติดตามและแระเมินผลยุทธศาสตร์
๑๐๒
  1. การติดตามและประเมินผลโครงการ
๑๐๓
  1. สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่น
๑๐๔
  1. ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต
๑๐๔
 
 

ส่วนที่ ๑

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

๑.ด้านกายภาพ

๑.๑ ที่ตั้ง

ตำบลน้ำใสเป็นหนึ่งในสิบสองตำบลของอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด  อยู่ห่างจากที่ว่า
การอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ      กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยทางถนนปัทมานนท์  ประมาณ  ๑๘  กิโลเมตร

เนื้อที่

ตำบลน้ำใส มีขนาดเนื้อที่ประมาณ  ๑๖.๗๕  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๑๐,๔๖๘.๗๕  ไร่ 
โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ          จดตำบลสะอาดสมบูรณ์และตำบลแคนใหญ่   อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
ทิศใต้             จดตำบลดงแดงและตำบลหัวช้าง             อำเภอจตุรพักตรพิมาน
ทิศตะวันออก     จดตำบลดงแดง                                อำเภอจตุรพักตรพิมาน
จดตำบลแคนใหญ่                             อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก      จดตำบลโคกล่ามและตำบลหัวช้าง           อำเภอจตุรพักตรพิมาน

๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ       ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย       ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบโล่ง  
ซึ่งเหมาะกับการทำเกษตรกรรม  โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญ  คือ   ห้วยกุดน้ำใส  หนองขุมดิน หนองทุ่ม  หนองแก  และหนองนกเขียน
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศโดยส่วนใหญ่ของตำบลน้ำใสร้อนและแห้งแล้ง  เนื่องจากมีแหล่งป่าไม้จำนวนน้อย 
อุณหภูมิในฤดูแล้ง  สูงสุดประมาณ    ๔๐  องศาเซลเซียส   ต่ำสุดประมาณ   ๒๕   องศาเซลเซียส   
อุณหภูมิในฤดูฝน   สูงสุดประมาณ    ๓๘  องศาเซลเซียส   ต่ำสุดประมาณ   ๒๓   องศาเซลเซียส
อุณหภูมิในฤดูหนาว  สูงสุดประมาณ  ๓๕  องศาเซลเซียส   ต่ำสุดประมาณ   ๑๕   องศาเซลเซียส

          ๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะดินส่วนใหญ่จะเป็นดินร่วนปนทรายและบางแหล่งจะพบดินลูกรัง ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของหินดินดาน

๑.๕ ลักษณะแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
          ลำห้วย ,  ลำน้ำ                     ๑        สาย
          บึง  ,  หนอง                         ๔        แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น       
                   ฝาย                                  ๓        แห่ง
                   บ่อน้ำตื้น                            ๘๙      แห่ง
                   สระน้ำ                               ๑        แห่ง
๑.๖ ลักษณะของไม้ป่าไม้
        ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีป่าไม้  แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ และทางราชการปลูกในวันสำคัญของชาติ  เช่นไม้ยาง ไม้เหียง ไม้ตะแบก และไม้ประดู่
 
๒.ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส แบ่งเขตการปกครองเป็น    ๑๐  หมู่บ้าน   โดยมีรายชื่อหมู่
บ้านและรายชื่อผู้นำหมู่บ้าน  ดังตารางต่อไปนี้
 
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน
น้ำใส นายสำราญชัย บุตรใส
เที่ยมแข้ นายนิวัฒน์ ผดุงเวียง
ยางเครือ นายสุบรรณ ไชยกันยา
ขุมดิน นายดำรง บุตรใส
หางกุด นายโอภาส สีลาดเลา
น้ำใส นายวิมุติ ไชยกันยา
สว่างอารมณ์ นายอาคม นามไพร
ดอนแหน นางสาวสุมาลี สีหานาม
ขุมดิน นายประภาส ตริพงษา
๑๐ เที่ยมแข้ นายเกษม ปาปะกะ
 
๒.๒ การเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
 “มาตรา ๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๕/๑ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในแต่ละเขตเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่หมู่บ้านใดมีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ไม่ถึงยี่สิบห้าคน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันและเมื่อรวมกันแล้วจะมีราษฎร ถึงยี่สิบห้าคนเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน การนับจำนวนราษฎรดังกล่าวให้นับ ณ วันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
 การรวมหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้งตามวรรคสองให้นายอำเภอเป็นผู้ดำเนินการและประกาศ ให้ประชาชนทราบภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการเลือกตั้งแทน ตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งภายในเดือนมกราคม ให้ถือเขตเลือกตั้งที่ได้ประกาศไว้ในการเลือกตั้ง ครั้งสุดท้าย
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
 ” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๕/๑ และมาตรา ๔๕/๒ แห่งพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
“มาตรา ๔๕/๑ องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึงหกเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การ บริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหกคน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
 (๑) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีหนึ่งเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหกคน
(๒) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสองเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสามคน
(๓) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสามเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสองคน
 (๔) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสี่เขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน ราษฎรมากที่สุดสองเขตเลือกตั้งแรก ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน
(๕) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีห้าเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน ราษฎรมากที่สุด ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
“มาตรา ๕๘/๒ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่ วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่ วันพ้นจากตำแหน่ง ”
 
                                                                                                 
 
๓.ประชากร
๓.๑ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น  ๔,๘๘๔   คน  แยกเป็นชาย   ๒,๔๓๒   คน  หญิง  ๒,๔๕๒   คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย     ๒๙๑    คน (๔,๘๘๔ คน) /  ตารางกิโลเมตร (๑๖.๗๕ ตร.กม.)    แยกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังนี้
 
หมู่ที่ ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
๒๔๔ ๔๖๘ ๔๙๔ ๙๖๒
๑๖๘ ๓๑๕ ๒๗๒ ๕๘๗
๑๔๓ ๒๔๔ ๒๔๓ ๔๘๗
๑๕๔ ๒๔๗ ๒๑๗ ๔๖๔
๖๔ ๑๑๖ ๑๒๔ ๒๔๐
๒๓๗ ๔๑๐ ๔๑๓ ๘๒๓
๑๑๓ ๑๗๕ ๑๘๐ ๓๕๕
๔๐ ๗๐ ๘๖ ๑๕๖
๑๒๑ ๒๓๑ ๒๓๔ ๔๖๕
๑๐ ๑๒๒ ๑๕๖ ๑๘๙ ๓๔๕
รวม ๑,๔๐๖ ๒,๔๓๒ ๒,๔๕๒ ๔,๘๘๔
(ที่มา : กรมการปกครอง อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด ณ เดือน พฤษภาคม  ๒๕๖๒)
 
๔.สภาพทางสังคม

๔.๑การศึกษา

ด้านการศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส มีการจัดการด้านการศึกษา  โดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส จำนวน  ๒ แห่ง มีโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  จำนวน  ๔  แห่ง  การศึกษานอกโรงเรียน  ๑ แห่ง ตามข้อมูล  ดังนี้ 
โรงเรียนประถมศึกษา                         ๔        แห่ง
  1. โรงเรียนรัฐทวิคาม                       ที่ตั้งอยู่บ้านดอนแหน หมู่ที่ ๘
  2. โรงเรียนบ้านยางเครือ                   ที่ตั้งอยู่บ้านยางเครือ หมู่ที่ ๓
  3. โรงเรียนบ้านขุมดินสว่างประชานุกูล    ที่ตั้งอยู่บ้านขุมดิน หมู่ที่ ๔
  4. โรงเรียนบ้านน้ำใสเที่ยมแข้              ที่ตั้งอยู่บ้านน้ำใส  หมู่ที่ ๖
โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส)           ๑        แห่ง
  1. โรงเรียนบ้านน้ำใสเที่ยมแข้              ที่ตั้งอยู่บ้านน้ำใส  หมู่ที่ ๖
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                            ๒        แห่ง
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำใส            ที่ตั้งอยู่บ้านน้ำใส  หมู่ที่ ๖
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขุมดิน           ที่ตั้งอยู่บ้านขุมดิน หมู่ที่ ๔
การศึกษานอกโรงเรียน   (กศน.ตำบลน้ำใส)          ๑        แห่ง
สถานที่ตั้ง ศาลา SML บ้านสว่างอารมณ์. หมู่ที่ 7

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

ตำบลน้ำใสมี   วัด    ๗    แห่ง  ดังนี้
  1. วัดป่าบ้านน้ำใส หมู่ที่  ๑ 
  2. วัดโพธิ์ทองพัฒนาราม หมู่ที่ ๒
  3. วัดบ้านยางเครือ (วัดวารีสุคันธวาส) หมู่ที่ ๓
  4. วัดศรีลาพัฒนาภูมิ หมู่ที่ ๔
  5. วัดสว่างอารมณ์ หมู่ที่ ๕
  6. วัดสาครพัฒนาราม หมู่ที่ ๖
  7. วัดสว่างพัฒนา หมู่ที่ ๗

๔.๒ สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำใส      ๑        แห่ง   ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำใสหมู่ที่ ๖  
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ         ๑๐๐

๔.๓ อาชญากรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  การป้องกันได้จัดทำโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด  รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน  ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท  การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง  แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้  ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้              
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นอยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น  การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 
๔.๕ การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 
(๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(๔) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
(๕) ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครองครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.     
(๖) ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ รายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
(๗) อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
(๘)  ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน
(๙) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
 
. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคม
          ตำบลน้ำใสเป็นตำบลที่มีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาไปสู่ศักยภาพที่ดีไม่น้อยกว่าตำบลอื่น 
ทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  โครงสร้างพื้นฐาน  การบริการด้านสาธารณูปโภค  และในด้านการบริการของรัฐอย่างต่อเนื่อง  และมีข้อได้เปรียบหลายประการคือ
เป็นตำบลที่อยู่ใกล้อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  ๑๘  กิโลเมตร   และห่างจากที่ว่าการอำเภอ
จตุรพักตรพิมาน     กิโลเมตร  โดยมีถนนปัทมานนท์ผ่านเข้าตัวเมืองได้สะดวก
เป็นตำบลที่มีการคมนาคมสะดวกพอสมควร  มีถนนติดต่อกับตำบลอื่นทุกตำบล 
โดยถนนสายหลักเป็นถนนลาดยาง  สามารถขนส่งสินค้าเข้าตัวเมืองได้อย่างสะดวก
๕.๒ การไฟฟ้า                                      
          ตำบลน้ำใสเป็นตำบลที่มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน  ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ 
          ๕.๓ การประปา
ระบบประปาหมู่บ้าน มีทั้งหมด   ๕  หมู่บ้าน 
  1. หมู่ที่ ๑ บ้านน้ำใส
  2. หมู่ที่ ๒ บ้านขุมดิน
  3. หมู่ที่ ๖ บ้านน้ำใส
  4. หมู่ที่ ๗ บ้านสว่างอารมณ์
  5. หมู่ที่ ๙ บ้านขุมดิน
๕.๔ โทรศัพท์
ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนได้นิยมใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคลแทน ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว และสามารถใช้ระบบอินเตอร์เน็ตได้เช่น  โทรศัพท์มือถือ  สำหรับสถานที่ราชการ  ยังคงใช้ระบบโทรศัพท์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร  ใช้อยู่
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
                            องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  ไม่มีไปรษณีย์  แต่มีบริการไปรษณีย์จากไปรษณีย์ประจำอำเภอ  ซึ่งมี  จำนวน  1  แห่ง
                             -  มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านมีครบทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน
                             -  มีบริการให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี  ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส
                             -  องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส  มีวัสดุ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่  แต่ก็มีบางรายการที่ยังคลาดแคลนเนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสในการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น  แต่หากประชาชนเดือดร้อน หรือหน่วยงานอื่นเดือนร้อน ก็สามารถมายืมใช้ได้
 
ระบบเศรษฐกิจ

๖.๑ การเกษตร

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่ ทำนา  รองลงมา คือ ทำไร่เลี้ยงสัตว์รับจ้าง
๖.๒ การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีการประมง  เป็นการจับปลาตามธรรมชาติในบริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น
๖.๓ การปศุสัตว์
โรงเลี้ยงสัตว์  (ฟาร์มไก่)   ๘        แห่ง
โรงเลี้ยงสัตว์ (ฟาร์มหมู่)   ๓        แห่ง
ประชาชนในตำบลส่วนใหญ่เลี้ยงวัว กระบือ ไก่ และเป็ด ไว้เพื่อโบริโภคและขาย
๖.๔ การบริการ
ร้านอินเตอร์เน็ต  ๕ แห่ง
อู่ซ่อมรถยนต์     ๔ แห่ง
โรงสีข้าว        ๑๗ แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีแหล่งท่องเที่ยว  แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่  เช่น  การจัดงานประเพณีต่างๆ  และส่งเสริมกิจกรรมของวัด  
๖.๖ อุตสาหกรรม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีอุตสาหกรรม 
แต่มีการประกอบโรงเรือนผลิตปลาทู  ๑  แห่ง
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ร้านขายสินค้า  ๓๖ แห่ง
ร้านทำธูป         ๕ แห่ง
๖.๘ แรงงาน
ภาคแรงงานในตำบลน้ำใสจะทำงานรับจ้างทั่วไปทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด
 
๗. สาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 
๗.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี
งานประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นสามปีต่อครั้งส่วนงานประจำปีที่สำคัญประจำตำบลน้ำใสคืองานสรงกู่จัดขึ้นเพื่อบวงสรวงบูชาพระครูลูกแก้วสิ่งศักดิ์สิทธิประจำตำบลน้ำใส
๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น
  ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่  กลุ่มทอผ้าไหม,วงมโหรี,กลองยาว ภาษาถิ่นภาษาอีสาน
๗.๔ สิ้นค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
           ธูป  กระเทียม ผ้าไหม
 
๘.ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.๑  น้ำ
ลำห้วย ,  ลำน้ำ                     ๑        สาย
บึง  ,  หนอง                         ๔        แห่ง
๘.๒ ป่าไม้
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีพื้นที่ป่าไม้ขนาดใหญ่แต่มีป่าไม้ที่เป็นที่สาธารณะข้างวัดป่าบ้านน้ำใส หมู่ที่ ๑
๘.๓ ภูเขา
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสไม่มีภูเขา
๘.๔ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใสส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เป็นที่นาไร่  สวน  ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ  น้ำฝนน้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน  โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของสาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ 
ข้อมูลอื่น  ๆ (ถ้ามี)
          มวลชนจัดตั้ง
                   ลูกเสือชาวบ้าน                      ๑                  รุ่น      ๑๕๐    คน
                   ไทยอาสาป้องกันชาติ               ๑                  รุ่น      ๑๒๐    คน
                   กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ   ๑                  รุ่น      ๔๕      คน
                   กรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน        ๘                  รุ่น      ๑๐๐    คน
                   อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน      ๒                  รุ่น      ๑๕๐    คน
                   อาสาสมัครรักษาความสงบประจำหมู่บ้าน   ๑        รุ่น      ๑๒๐    คน
                   กลุ่มเยาวชนอาสา                             ๑        รุ่น      ๗๕      คน
 ส่วนที่ ๒
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
ในการกระจายอำนาจการบริหารของรัฐไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายโอนภารกิจงบประมาณและอัตรากำลังของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในอนาคตอันใกล้นี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับการจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่สูงขึ้นมีอัตรากำลังมากขึ้นรวมทั้งมีภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามกันไปด้วย
จากผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจะต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับมาตรการในการถ่ายโอนภารกิจงบประมาณและอัตรากำลังจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งหมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเร่งกำหนดจุดหมายหรือทิศทางในการพัฒนาของตนให้ชัดเจนมีการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยมีความครอบคลุมภารกิจการพัฒนาในทุกๆด้านอันเป็นการแ
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2562   View : 882