องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส

Namsai Subdistrict Administrative Organization

ประวัติความเป็นมา


ออนไลน์ : 4

หัวข้อ :: ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส

         ตำบลน้ำใส  อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด  เดิมได้มีกลุ่มคนแตกศึกมาตั้งแต่สมัยครั้ง  พระวอ  พระตา  มาจากประเทศลาวโดยมีพ่อขุนศรี  กับพวก  มาด้วยกันทั้งหมดรวม  ๑๒  ครอบครัว  ซึ่งได้อพยพมาตามลำน้ำโขง  ทางด้านทิศตะวันออก ฝั่งทางขวาของแม่น้ำ  มาตั้งอยู่ที่ข้างลำห้วย  ชื่อห้วยว่ากุดน้ำใส
            เนื่องจากลำห้วยกุดน้ำใส  ได้มีน้ำที่ใสสะอาดมาก  จนสามารถมองเห็นตัวปลา  แหวกว่ายไปมาในน้ำได้  สามารถใช้ดื่มกินได้  และได้เป็นแหล่งอาหาร  และเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี  จนทำให้ผู้คนอพยพตามมาอาศัยอยู่เรื่อยๆเป็นจำนวนมากและหลายเผ่าพันธุ์  อาทิเช่น  ชนเผ่าข่า  ขอม  จีน  ลาว  และเขมร  เป็นต้น  และอาชีพส่วนใหญ่ของผู้คนที่อาศัยอยู่จึงเป็นอาชีพ  ทำนา  และเพาะปลูกพืช  เพื่อเป็นอาหารของผู้คน  ในหมู่บ้านเพราะว่าตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำพอมีคนมาอาศัยอยู่จำนวนมาก  จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งหมู่บ้าน  เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๘๒๘  และได้นำชื่อลำห้วยนี้  มาตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านกุดน้ำใส  โดยมีพ่อขุนศรีเป็นหัวหน้าหมู่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน  หลังจากนั้นชาวบ้านจึงได้คิดว่า  น่าจะมีพระสักรูป  มาเป็นขวัญและกำลังใจ  เป็นเสาหลักประจำด้าน  คันถธุระ  และวิปัสสนาธุระ  มาจากจังหวัดอุบลราชธานี  และท่านได้มาเป็นผู้ก่อตั้งวัดประจำหมู่บ้านเนื่องจากสมัยก่อน  บริเวณหมู่บ้านเป็นป่าทึบ  มีฝูงสัตว์ต่างๆมากมายอาศัยอยู่  เช่น  ลิง  เสือ  กวาง  งู  เป็นต้น    จึงได้ตั้งชื่อวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านว่า  วัดป่าน้ำใส  ซึ่งหลังจากท่านพระครูลูกแก้วมาประจำอยู่ที่วัดป่าบ้านน้ำใส  ได้ประมาณ  ๖๐  กว่าปี  ท่านพระครูลูกแก้วก็ได้มรณภาพลง  และวัดป่าบ้านน้ำใส  ก็เลยกลายเป็นวัดร้าง  จวบจนมาถึงปี  พ.ศ.  ๒๕๐๑  จึงได้ยกฐานะเป็นวัดอีกครั้ง  และในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๔  ก็ได้มีพระสงฆ์เข้ามาประจำวัดอีกครั้ง  โดยมีพระง่อง  จนตสีโล  มาเป็นเจ้าอาวาสประจำวัด  ซึ่งหลังจากนั้นมา  ชื่อหมู่บ้านก็ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ  บ้านน้ำใส  ซึ่งเพี้ยนมาตั้งแต่สมัยไหน  ก็ไม่มีใครทราบ  และไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด  ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านที่เรียกขานมาจนถึงปัจจุบัน  พอมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  หมู่บ้านก็เลยได้แยกหมู่บ้านออกเป็น  ๒  หมู่ด้วยกัน  และต่อมาจึงได้แยกตัวออกมาเป็นตำบลน้ำใส  ซึ่งเก่าก่อนบ้านน้ำใสก็ได้ขึ้นเป็นหมู่บ้านของตำบลดงแดง  ปัจจุบันตำบลน้ำใสมีจำนวนทั้งหมด   ๑๐  หมู่บ้าน  ภายใต้การนำของนางสาวสุมาลี สีหานามกำนันตำบลน้ำใส  ตำบลน้ำใสเป็นหนึ่งในสิบสองตำบลของอำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด       อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๘ กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด โดยทางถนนปัทมานนท์  ประมาณ  ๑๘  กิโลเมตร   มีขนาดเนื้อที่ประมาณ  ๑๖.๗๕  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๑๐,๔๖๘.๗๕  ไร่  โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบล  ต่าง ๆ ดังนี้ทิศเหนือ    จดตำบลสะอาดสมบูรณ์และตำบลแคนใหญ่   อำเภอเมืองร้อยเอ็ดทิศใต้  จดตำบลดงแดงและตำบลหัวช้าง  อำเภอจตุรพักตรพิมานทิศตะวันออก  จดตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จดตำบลแคนใหญ่  อำเภอเมืองร้อยเอ็ดทิศตะวันตก  จดตำบลโคกล่ามและตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน       ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ  ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย  ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบโล่ง   ซึ่งเหมาะกับการทำเกษตรกรรม โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญ  คือ    ห้วยกุดน้ำใส  หนองขุมดิน หนองทุ่ม  หนองแก  และหนองนกเขียน ตำบลน้ำใส  แบ่งการปกครองออกเป็น๑๐ หมู่บ้าน ดังนี้หมู่ที่ ๑ บ้านน้ำใส  หมู่ที่  ๒ บ้านเที่ยมแข้  หมู่ที่  ๓  บ้านยางเครือ  หมู่ที่  ๔บ้านขุมดิน หมู่ที่  ๕บ้านหางกุด  หมู่ที่ ๖  บ้านน้ำใส หมู่ที่ ๗ บ้านสว่างอารมณ์  หมู่ที่ ๘ บ้านดอนแหน  หมู่ที่ ๙  บ้านขุมดิน หมู่ที่ ๑๐บ้านเที่ยมแข้
                มีประชากรทั้งสิ้น  ๔,๙๔๑  คน  แยกเป็นชาย   ๒,๔๘๐ คน  หญิง   ๒,๔๖๑  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  ๓๐๙   คน /  ตารางกิโลเมตร  โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมของตำบลน้ำใสจะเป็นพื้นที่ชนบทกึ่งเมืองที่มีพื้นที่ทางการเกษตร แต่ด้วยลักษณะเด่นของตำบลน้ำใสในการบริหารจัดการที่ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างชุมชนกับโรงงานอุตสาหกรรม ในลักษณะแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและยังคงรักษาไว้ด้วยวิถีชีวิตของชุมชน  จึงทำให้ชุมชนแห่งนี้มีองค์กร หน่วยงานและบุคคลภายนอกให้ความสนใจแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยือนเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตของคนตำบลน้ำใสอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตำบลน้ำใสยังมีการทำงานร่วมกันขององค์กรในพื้นที่ ๓ ภาคส่วนหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองท้องที่ (กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน) และองค์กรภาคประชาชน    (แกนนำกลุ่ม, แหล่งเรียนรู้) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐทั้งภายในตำบล เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด  สำนักงานสารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เขต ๗ หน่วยงานภายนอกตำบล เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง  สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด  สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด   เป็นต้น 
วันที่ : 21 มีนาคม 2564   View : 2002